หมุนวงล้อธรรมจักรสู่แดนไกล

             อุบาสิกาพิมพา เริ่มสอนสมถกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐาน และอภิธรรมปิฎกนี้มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช  2519 จนถึงปัจจุบัน

            ในปัจจุบัน อุบาสิกาพิมพา ได้อบรมสอนหลักธรรมความรู้นี้อยู่เจ็ดสิบกว่าแห่งในหลายจังหวัด  ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง 

ภาคอีสาน  และภาคใต้   

             ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการเผยแผ่ธรรมะพระพุทธองค์ให้กว้างไกล อุบาสิกาพิมพา     จึงได้นำแนวทางการปฏิบัติ

สมถกรรมฐาน  แนววิธี กสิณ 10 มาสอนให้แก่ผู้สนใจ เพื่อให้ได้รู้ และพิสูจน์เรื่องของกรรม ว่ามีจริงด้วยตนเอง  และ

สอนให้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน โดยเจริญสติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นธรรมะขั้นโลกุตระ

             อุบาสิกาพิมพา ทองเกลา (อุ้มปรีชา) ได้รับการเชิญจากญาติโยม ผู้ศรัทธา และสนใจในการปฏิบัติกรรมฐาน  ให้ชี้นำแนว

การปฏิบัติกรรมฐาน แนววิธี กสิณ โดยมีผู้ปฏิบัติมากหน้าหลายตา หลายชนชั้น  และวัย เพศ หรือแม้แต่การอบรมกรรมฐานให้แก่

ผู้ต้องขังในเรือนจำกลาง คลองเปรม กรุงเทพมหานคร  โดยการเชิญของอนุศาสนาจารย์ในขณะนั้น ให้เข้าไปทำการอบรมแนวการ

ปฏิบัติกรรมฐานให้แก่ผู้ต้องขัง  มีผู้ต้องขังหลายคนที่สามารถปฏิบัติกรรมฐานจนสามารถไปสู่นรกภูมิได้ ได้สอบถามผลกรรมของ

วิญญาณที่ต้องชดใช้กรรมในนรก  ได้พบกับญาติพี่น้องของตนเอง ได้รู้เห็นสภาพความเป็นไปในนรกภูมิ รู้ผลแห่งบาปกรรมที่วิญญาน

ของผู้ทำบาป  สัตว์นรก ต้องชดใช้กรรม ว่ากระทำบาปกรรมใด จึงต้องชดใช้ผลกรรมเฉกเช่นนี้ ทำให้เขาเกิดความกลัวมิกล้า

กระทำผิด  รู้จักสำนึกผิดในบาปที่กระทำมาแต่เก่าก่อน เมื่อผู้ปฏิบัติได้รู้เห็นว่า นรกนั้นมีสภาพน่ากลัวเพียงใด  ก็จะมิกล้ากระทำชั่ว

หันมาสร้างแต่กรรมดี ด้วยความเชื่อในผลแห่งบาปกรรม และนรกนั้นมีจริง  ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในพระอภิธรรมปิฎก

              ในการเผยแผ่คำสอนของพระอภิธรรมปิฎกในแนวปฏิบัติ ปรากฏว่ามีผู้ให้ความสนใจกันมาก โดยสังเกตได้จากการ

เดินทางสอนกรรมฐานของอุบาสิกาพิมพา  ตามจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้มีญาติโยมสนใจปฏิบัติกันมา และได้ผลดีด้วย

ในการปฏิบัติไปตามแนวของพระอภิธรรมปิฎก

               เพราะว่าการกระทำสิ่งใด ควรกระทำด้วยความจริงจัง อันหมายถึงว่า ผู้ที่มาปฏิบัติธรรม  จะสำเร็จ ได้บรรลุถึงจุดหมาย

ปลายทางของเขาได้ จะต้องมีศรัทธาเป็นเบื้องต้น และมีวิริยะต่อมา  และก็มีสติต่อมา เมื่อมีสติแล้ว สมาธิก็จะเกิด และปัญญาก็จะเกิด

               การปฏิบัติสมถกรรมฐาน อันถือเป็นขั้นโลกียะนั้น ในขั้นนี้ผู้ปฏิบัติยังไม่สามารถหลุดพ้นทุกข์ได้  ผู้ปฏิบัติควรมีขันติ 

ความอดทน ต้องมีวิริยะความเพียรพยายาม เพราะการปฏิบัติกรรมฐานในแนวสมถะ  หรือแนววิปัสสนาก็ตาม จะต้องมีขันติ 

ความอดทน และวิริยะความเพียรเป็นเบื้องแรก จึงจะทำให้เราสำเร็จอภิญญา  มรรคผลได้ ถ้าขาดอันใดอันหนึ่ง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว 

ก็ไม่ทำให้ได้บรรลุฌาน อภิญญา  มรรคผล นิพพานได้เลย

               การปฏิบัติที่จะได้ช้าหรือเร็วนี้ ไม่ใช่ว่ามาปฏิบัติวันเดียวกัน หรือนั่งกรรมฐานรอบเดียวกัน  ก็จะได้เสมอเหมือนกันหมด 

การที่เราจะปฏิบัติได้สำเร็จฌาน อภิญญา มรรคผล นี้ จะได้เร็วหรือช้า  ก็ขึ้นอยู่กับบารมีแต่หนหลัง คือ อดีตกรรมดี หรือสะสมบารม

ีในการปฏิบัติมาก่อน บุญในการปฏิบัติแต่หนหลังก็จะช่วยอุดหนุนส่งเสริมการปฏิบัติธรรมใหม่ในชาตินี้  เพื่อให้ได้สำเร็จไวขึ้น 

คนที่สะสมบุญทางการปฏิบัติน้อย ก็จะได้ช้า เพราะกำลังบุญ  กำลังสมาธิไม่พอ (หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า บารมียังไม่พอนั่นเอง)

               แต่ในกรณีที่บางท่านไม่เคยปฏิบัติมาก่อน จะได้ช้ามาก เพราะจะต้องเริ่มสร้างบารมีเสียแต่บัดนี้  สะสมไปเรื่อย ๆ และ

จะมีวันสำเร็จได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทรงแยกประเภทปัญญาของบุคคลไว้เหมือนดอกบัวสี่เหล่า  การที่เราจะปฏิบัต

ิได้สำเร็จช้า หรือเร็ว ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับผู้แนะแนวสั่งสอน แต่จะได้เพราะว่าเราได้สะสมบารมีของเรามาแต่อเนกอนันตชาติ  

เป็นเชื้อสายติดต่อกันมา เพราะพระพุทธเจ้าก็ได้แต่เป็นผู้แนะแนว ท่านไม่ได้ช่วยใครเลย

               ในการเทศน์สอน พระพุทธเจ้าก็ทรงเลือกใช้ธรรมะสอนบุคคลให้ถูกภาวะของบุคคลที่สร้างบุญมาเท่าใด  ควรจะใช

้บทไหนในเรื่องธรรมะทั่ว ๆ ไป

               ส่วนในแนวปฏิบัติ พระพุทธเจ้าก็ได้แนะแนวเป็นสองอย่าง ดังที่บันทึกเป็นหลักฐานไว้  แม้ว่าพระพุทธเจ้าทรงนิพพานแล้ว

ก็จริง แต่หลักคำสอนแนะแนวกรรมฐานทั้งสองก็ยังมีอยู่เป็นครูบาอาจารย์  ปัจจุบันพระสงฆ์ก็ได้อัญเชิญคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น

มาแนะนำญาติโยมอีกครั้งหนึ่ง  ถ้าใครปฏิบัติตามคำแนะนำของพระสงฆ์ ซึ่งคัดเอามาจากคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสอนญาติโยม

อีกทีหนึ่ง  ญาติโยมก็จะได้บรรลุฌาน อภิญญา มรรคผล เหมือนกัน

               เพราะฉะนั้น แม้ในปัจจุบันทุกวันนี้ ถ้าใครปฏิบัติถูกต้องตามหลักวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้  ชื่อว่า "ฌานลาภีบุคคล" คือ 

ผ ู้มีฤทธิ์ที่เกิดจากการได้อภิญญาห้า ก็ยังมีอยู่  แม้พระอริยบุคคล 4 จำพวก คือ พระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา และพระอรหันต์ 

ก็จะมีเกิดอยู่ได้เช่นเดียวกัน  เพราะหลักคำสอนของฝ่ายวิปัสสนาธุระก็มีสอนไว้อย่างละเอียด

               สรุปแล้วว่า ตราบใดที่ยังมีคำสอนทั้งสองแนว (คือ สมถะ และวิปัสนา" ยังมีอยู่  ตราบนั้น ฌานลาภีบุคคล และ

พระอริยบุคคล 4 จำพวก ก็ยังไม่ว่างจากโลก ยังคงมีอยู่ปกติ

               แนวการสอนทั้งหมดที่อุบาสิกาพิมพา นำมาสอนแก่ญาติโยมนี้ ได้ถอดเนื้อความมาจากอภิธรรมปิฎก  ที่เรียกว่า 

พระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ ซึ่งเป็นความรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด  ที่ได้ทรงตรัสไว้ มีหลักฐานบาลียืนยันครบถ้วน

               ธรรมะความรู้ดังกล่าว บ่งปรากฏไว้อย่างละเอียดละออ ผู้ใดต้องการเรียนรู้ด้วยตน ในด้านสมถกรรมฐาน 

เพื่อให้ได้โลกียอภิญญา 5 แล้ว ให้ซื้อตำราเรียนชื่อว่า "สมถกรรมฐานทีปนี"  ปริจเฉทที่ 9 หลักสูตรมัชฌิมอภิธัมมิกะโท และ

ปฏิบัติตามนั้น ก็จะได้อภิญญา 5 ดังกล่าวได้

               ผู้ใดต้องการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน (โลกุตระ) เจริญสติปัฏฐานสี่ เพื่อดูรูปนาม เห็นไตรลักษณ์  ให้ได้บรรลุเป็น

พระอริยบุคคล 4 จำพวกแล้ว ให้ซื้อตำราเรียนที่ชื่อว่า "วิปัสสนากรรมฐานทีปนี"  ปริจเฉทที่ 9 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ใช้เรียนใน

ขั้นมัชฌิมอภิธัมมิกะโท

               ตำราเรียนดังกล่าว เป็นตำราเรียนที่พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ใช้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในปัจจุบันนี้

               หากท่านผู้ใด มีความสนใจศึกษาความรู้ทางด้านปริยัติ ด้านปฏิบัติในแนวของสมถกรรมฐาน  หรือในด้านวิปัสสนากรรมฐาน

ขอเชิญศึกษาได้ที่อภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร  หรือที่วัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ตรงข้ามท่าช้าง วังหลวง 

กรุงเทพมหานคร ในเวลา บ่ายโมง  ถึงห้าโมงเย็น ทุกวัน เว้นเฉพาะวันพระ

                แม้ว่าอุบาสิกาพิมพา จะไม่ได้จบถึงขั้นอภิธรรมบัณฑิต เพราะหันมาแนะแนวการปฏิบัติเสียส่วนใหญ่  เพื่อให้ญาติโยม

ได้พิสูจน์ความจริงว่า นรกมี สวรรค์มี ผลของบุญ ผลของบาปนั้นมีจริง  เพื่อจะให้มนุษย์นั้นไม่ทำความชั่ว ต้องตกสู่อบายภูมิที่น่ากลัว

หันมามุ่งสร้างทานกุศล  เมื่อตายแล้ว จะได้ไปเกิดที่สรวงสวรรค์

                เมื่อผู้ปฏิบัติสามารถไปสู่นรกภูมิได้แล้ว ย่อมสนทนากับพวกผี พวกเปรต หรือสัมภาษณ์ไต่ถามว่า  เขาได้ก่อกรรมใดไว้ 

เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ถึงได้ทนทุกข์ทรมานมากมาย เมื่อนั้นก็จะรู้แจ้งในบาปกรรมเหล่านั้น  และจะได้ไม่กระทำบาปต่อไป

                หรือว่า ไปสู่สวรรค์ เพื่อไปสัมภาษณ์แก่เทพทั้งหลายว่า สมัยที่ท่านเป็นมนุษย์นั้น  ได้สร้างทานกุศลอะไรบ้าง ถึงได้มา

เป็นใหญ่ เป็นโตบนสวรรค์ ด้วยความผาสุขมากมาย พวกเทพเหล่านั้นก็จะให้ความสว่างแก่เราได้  ทำให้เราเข้าใจเรื่องนี้ชัดแจ้ง

มั่นคง เว้นจากการทำชั่ว แล้วหันมาทำความดี แล้วสร้างทานกุศล  เพื่อหวังผลบุญนั้นพาเขาเหล่านั้นไปเกิดในภูมิสวรรค์ที่ผาสุข

                ดั่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า สวรรค์นั้นมี 6 ชั้น พร้อมด้วยบอกอายุและความเป็นอยู่ของสวรรค์แต่ละชั้นไว้อย่างละเอียด

ในพระอภิธรรมปิฎก  หาศึกษาได้ใน มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1 และเล่ม 2 ชื่อว่า "ภูมิจตุกกะ"  เพราะมีหลักฐาน

บาลีครบถ้วน พระอภิธรรมนี้ก็เป็นปิฎกหนึ่งในปิฎกทั้งสาม ที่เรียกว่า  "ไตรปิฎก" ได้แก่ พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม 

เพราะว่าเนื้อความของพระไตรปิฎก  หรือที่เรียกว่า ปิฎกทั้งสามนี้ มีเนื้อความถึงแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์

                หลักธรรมะคำสอน ที่เรียกว่า ธุระของศาสนา นั้น มีเพียงสองอย่าง คือ คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ   หรือที่เรียกอีกอย่างว่า 

เรียนทาง ด้านปริยัติ และด้านปฏิบัติ นั่นเอง ทางด้านปริยัติ  ได้แก่พระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม หรือที่เรียกว่า "พระไตรปิฎก"

"พระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎก  และพระอภิธรรมปิฎก" หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า