เริ่มสอนกรรมฐาน

             ต่อมาอุบาสิกาพิมพา มีความจำเป็นต้องลาสึกไปถือเพศฆราวาสอยู่ 18 ปี เมื่อเสร็จสิ้นกิจทางเพศฆราวาสแล้ว  ได้เข้าถือบวช

ทางพระพุทธศาสนาอีกครั้ง เมื่อปีพุทธศักราช 2519 ที่จังหวัดเพชรบุรี  และเมื่อปีพุทธศักราช 2520 ก็ได้มาอยู่ที่วัดกำแพง

(หลังออกพรรษาแล้ว) และได้เข้าศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรมปิฎกต่อ  ในระยะที่มาเรียนอภิธรรมปิฎกต่อนั้น ได้มาพำนักอยู่ที่

วัดกำแพงบางจาก ซอยเพชรเกษม  20 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (คือสถานที่พำนักในปัจจุบัน)

             และในสมัยนั้น ใกล้ ๆ วัด ก็มีวัยรุ่นเสพสิ่งเสพติดอยู่มาก อุบาสิกาพิมพา เห็นแล้วเกิดความสงสาร  ต้องการให้วัยรุ่นเหล่านี้ได้รู้

ู้เรื่องบุญ เรื่องบาป จึงได้ชักนำให้วัยรุ่นกลุ่มนี้หันมาปฏิบัติธรรม  ศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานในแนวของสมถกรรมฐาน เพื่อให้บังเกิด

ฤทธิ์ อภิญญา สามารถรู้เรื่อง  นรก สวรรค์ บุญ บาป

              วัยรุ่นเหล่านี้ หลังจากได้ปฏิบัติกรรมฐาน ก็สามารถไปสู่ภพภูมินรก และสวรรค์ได้ มีความเชื่อว่า  ผลแห่งบุญและบาปนั้นมีจริง

วัยรุ่นเหล่านี้ก็ได้บอกเล่าต่อ ๆ ไป จนมีผู้สนใจ และรู้จักอุบาสิกาพิมพากันมากขึ้น  นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้สนใจทั่วไป ก็เริ่มฝึกปฏิบัติ

ิกรรมฐานกันมาก ผู้ปฏิบัติเหล่านี้ได้ปฏิบัติกรรมฐานจนสามารถไปสู่  ภูมินรก สวรรค์ ได้ด้วยตนเองจากผลการปฏิบัติสมถกรรมฐาน และ

ก็ได้นำเรื่องที่ตนประสบ  และรู้นั้นเล่าบอกแก่บิดา มารดา ญาติ มิตร พี่น้องของเขา ผู้ที่ได้รับทราบเรื่องก็ได้ติดตามมาฝึกปฏิบัติ

กรรมฐานกันมากขึ้น   

               การฝึกปฏิบัติกรรมฐานแนวสมถกรรมฐานนี้ก็ได้แพร่หลายทั่วไป จนมีผู้ปฏิบัติกรรมฐานกันมากขึ้น  ทำให้อุบาสิกาพิมพา 

ไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนด้านปริยัติ เพราะมุ่งเน้นสั่งสอนการปฏิบัติกรรมฐานให้แก่ผู้สนใจ  จึงทำให้ไม่จบอภิธรรมปิฎกในขั้นสูงขึ้น

และอุบาสิกาพิมพาก็ได้นำความรู้ที่ได้ศึกษามาจากอภิธรรมปิฎก  สอนให้แก่ผู้สนใจเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

               เมื่อผู้ปฏิบัติใดสำเร็จอภิญญาตาทิพย์ หูทิพย์ ไปสู่ภพภูมินรก ไปภูมิสวรรค์ได้คล่องแคล่วแล้ว  อุบาสิกาพิมพาก็จะสอนให้ 

หัดลืมตามองดู เพื่อให้ลืมตามองเห็นสวรรค์ได้ ลืมตามองเห็นพวกวิญญาณภูมิผี  เหมือนการมองเห็นสภาพธรรมดาปกติ ต่อจากนั้น 

เมื่อผู้ปฏิบัติสำเร็จในการปฏิบัติแบบนี้ได้หนึ่งปี  อุบาสิกาพิมพา จะให้เปลี่ยนการปฏิบัติในขึ้นสูงต่อไป ซึ่งชื่อว่า แนววิปัสสนากรรมฐาน

(ขั้นโลกุตระ) เพื่อพระนิพพานความดับ

               การที่สอนให้เห็น นรก สวรรค์ นั้น เป็นโลกียฌาน เป็นธรรมะกลาง ๆ

               การปฏิบัติสมถกรรมฐาน แนววิธี กสิณ 10 นี้ เป็นวิธีที่จะทำให้บังเกิดฤทธิ์อภิญญา  และเหมาะกับบุคคลทุกจริต อุบาสิกา

พิมพา จึงเลือกเอาแนววิธี กสิณ 10 มาฝึกปฏิบัติที่เรียกว่า  "การทำฌาน" และเพื่อจะให้ได้สำเร็จโลกียอภิญญา 5 อย่าง

               เมื่อผู้ปฏิบัติใด ได้สำเร็จอภิญญานี้แล้ว อุบาสิกาพิมพา ก็จะให้เรียนวิปัสนาขั้นสูงที่เรียกว่า  "โลกุตระ" ต่อไป โดยให้เจริญ

สติปัฏฐาน 4 อันได้แก่ กายานุปัสนาสติปัฏฐาน  เวทนานุปัสนาสติปัฏฐาน จิตตาปัสนาสติปัฏฐาน ธัมมาปัสนาสติปัฏฐาน เพื่อเดินสาย

โลกุตรธรรมต่อไป  เพื่อให้ได้เกิดญานตัวรู้ รูปนาม ขันธ์ห้า รู้การเกิดดับของรูปนาม เห็นไตรลักษณ์ดับ  ให้หมดอุปทานยึดมั่น ตาม

แนวที่อุบาสิกาพิมพา ได้ศึกษามาจากวิปัสสนากรรมฐานของวัดมหาธาตุ  กรุงเทพมหานคร

                รายละเอียดในการปฏิบัติสมถกรรมฐาน แนววิธี กสิณ 10 นี้ ให้ท่านศึกษาค้นคว้าได้ในอภิธรรมปิฎก  ปริจเฉทที่ 9 ซึ่งมี

ชื่อว่า "สมถกรรมฐานทีปนี" ซึ่งเป็นหลักสูตรใช้เรียนในชั้นมัชฌิมอาภิธัมมิกะโท  ของอภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดระฆังโฆสิตาราม 

ธนบุรี  หรือที่ อภิธรรมมหาวิทยาลัย วัดมหาธาตุ  กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้บ่งบอกไว้อย่างละเอียด

                การสอนกรรมฐานนี้ อุบาสิกาพิมพาได้นำความรู้ทางด้านอภิธรรมปิฎกสอนควบคู่กับการปฏิบัติกรรมฐานด้วย  เพื่อให้

ผู้ปฏิบัติ ได้ศึกษาคำสอนของสมถกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐาน และอภิธรรมปิฎก ส่วนพระสูตร  และพระวินัยนั้น อุบาสิกาพิมพา ไม่ได้

เรียนทางด้านนี้ จึงไม่ได้สอน   
สรุปความ

                 อุบาสิกาพิมพา แนะแนวการปฏิบัติสมถกรรมฐาน โดยใช้การเพ่ง กสิณ 10 เพื่อให้ได้โลกียะอภิญญา    5 อย่าง และปฏิบัติ

ิวิปัสสนากรรมฐาน (ขั้นโลกุตระ) เพื่อให้ได้บรรลุ อริยบุคคล 4    คือ พระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา และพระอรหันต์ และให้

ผู้ปฏิบัติ เรียนพระอภิธรรมปิฎกควบคู่ไปด้วย